พนักงานเทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเทศบาลที่ปฏิบัติงานอันเป็นภารกิจประจำสำนักงานหรืออาจจะนอกสำนักงานก็ได้ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างใกล้ชิด เพราะหน้าที่ของเทศบาลนั้นต้องติดต่อและให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในเรื่องงานการทะเบียน การสาธารณูปโภค การศึกษา การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งนับว่าเป็นภาระหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่นมาก ซึ่งต่างกับคณะเทศมนตรีที่ว่าคณะเทศมนตรีรับผิดชอบและภารกิจในลักษณะของการ “ทำอะไร” ส่วนการ “ทำอย่างไร” ก็จะเป็นหน้าที่ของพนักงานเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบ
พระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ. 2496 ได้แบ่งโครงสร้างของเทศบาลออกเป็น
2 ส่วน คือ สภาเทศบาล
และคณะเทศมนตรี สำหรับการปฏิบัติงานในหน้าที่ประจำในเทศบาล
จะมีโครงสร้างทางเจ้าหน้าที่อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า พนักงานเทศบาล1.
สภาเทศบาล ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
ซึ่งคอยควบคุมและตรวจสอบฝ่ายบริหารอันเป็นวิถีทางแห่งการถ่วงดุลอำนาจ กำหนดให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
และสมาชิกสภาเทศบาลนี้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี (ปัจจุบันมีการแก้ไขให้อยู่ในวาระคราวละ
4 ปี) ทั้งนี้จำนวนสมาชิกสภาเทศบาล
จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของเทศบาล ดังนี้ 1.1 สภาเทศบาลตำบล มีสมาชิกทั้งหมด 12 คน 1.2 สภาเทศบาลเมือง มีสมาชิกทั้งหมด 18 คน 1.3 สภาเทศบาลนคร มีสมาชิกทั้งหมด 24 คน สภาเทศบาลนั้นมีประธานสภาคนหนึ่ง
และรองประธานสภาคนหนึ่งโดยให้ผู้ว่าราชการแต่งตั้งมาจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล
กล่าวคือ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เรียกประชุมสภา เทศบาลครั้งแรกภายใน 90
วัน นับแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเสร็จสิ้นแล้ว
ให้สมาชิกสภาเทศบาลประชุมเลือกกันเองจากสมาชิกด้วยกัน
จะเลือกบุคคลอื่นนอกจากสมาชิกสภาเทศบาลไม่ได้ ประธานสภามี
หน้าที่ดำเนินกิจการของสภาเทศบาลให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุมเทศบาลควบคุมบังคับบัญชารักษาความสงบ
และเป็นตัวแทนสภาในกิจการภายนอก
2. คณะเทศมนตรี
2. คณะเทศมนตรี
ฝ่ายบริหารกิจการของเทศบาล
ได้แก่ คณะเทศมนตรี ซึ่งอำนาจในการบริหารงานอยู่ที่ คณะเทศมนตรี
โดยคณะเทศมนตรีเลือกมาจากสมาชิกสภาเทศบาลที่สมาชิกสภาเทศบาลมีมติเห็นชอบ ซึ่งประกอบด้วยนายกเทศมนตรี และเทศมนตรี
อีก 2-4 คน ตามฐานะเทศบาล คือ
ก. กรณีที่เป็นเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล ให้มีเทศมนตรีได้ 2 คน ซึ่งเมื่อรวมนายก
เทศมนตรีเป็นคณะเทศมนตรีแล้ว มีจำนวน 3 คน
ข. กรณีที่เป็นเทศบาลนคร ให้มีเทศมนตรีได้ 4 คน
ซึ่งเมื่อรวมนายกเทศมนตรีเป็นคณะ
เทศมนตรีแล้วมีจำนวน 5 คน
สำหรับเทศบาลเมืองที่มีรายได้จากการจัดเก็บปีละ 20 ล้านบาทขึ้นไป
ให้มี เทศมนตรีเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน
3.
พนักงานเทศบาล
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น