อำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา

ก. การดำเนินการกิจการภายในเขตพื้นที่ตนเอง          

1. การรักษาความสงบเรียบร้อย          
2. การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ          
3. การคุ้มครองและดูแลรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน          
4. การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง          
5. การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม          
6. การจัดการจราจร          
7. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง          
8. การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และการบำบัดน้ำเสีย          
9. การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา          
10. การจัดให้มีกาควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ และที่จอดรถ          
11. การควบคุมอนามัยและความปลอดภัยในร้ายจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพและสถานบริการอื่น          
12. การควบคุมและส่งเสริมกิจการท่องเที่ยว          
13. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น     
14. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นของเทศบาลนครหรือของเมืองพัทยา

ข. การดำเนินกิจการนอกเขตพื้นที่ตนเอง          

        เมืองพัทยาอาจดำเนินกิจการนอกเขตเมืองพัทยา เมื่อการนั้นจำเป็นต้องทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ภายในเมืองพัทยาหรือเป็นประโยชน์แก่เมืองพัทยา การดำเนินกิจการดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาเมืองพัทยา และได้รับความยินยอมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะเข้าไปดำเนินการ ในกรณีที่ไม่ได้รับความยินยอมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้นายกเมืองพัทยารายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณา          ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าการดำเนินกิจการนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการให้นายกเมืองพัทยาและผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมาประชุม เพื่อหาข้อยุติร่วมกันค. การให้บริการแก่หน่วยงานอื่นๆ          เมืองพัทยาอาจให้บริการแก่บุคคล หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น โดยมีค่าตอบแทนได้ เมื่อบริการนั้นโดยปกติเป็นบริการที่มีค่าตอบแทนง. การให้ส่วนราชการหรือเอกชนกระทำกิจการแทน          กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และลดภาระทางการเงินของเมืองพัทยา เมืองพัทยาโดยความเห็นชอบจากสภาเมืองพัทยาและรัฐมนตรีอาจมอบให้บุคคลอื่นหรือเข้าร่วมกับบุคคลอื่นกระทำกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยาได้ โดยให้ผู้กระทำมีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมค่าบริการหรือค่าตอบแทนได้ตามอัตราที่ได้ทำความตกลงกับเมืองพัทยาสหการ          เมืองพัทยาอาจร่วมกับหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น จัดตั้ง สหการ มีฐานะเป็นนิติบุคคลเพื่อทำกิจการใดอันอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของสภาเมืองพัทยาได้          การจัดตั้งและยุบเลิกสหการจะทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกากิจการที่ผลกระทบต่อเมืองพัทยา               1. ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดดำเนินกิจการใดที่อยู่นอกเขตเมืองพัทยา อันมีลักษณะที่จะมีผลกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อย หรือความปลอดภัยของประชาชนในเขตเมืองพัทยา ให้นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนเมืองพัทยา ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และบุคคลตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรขึ้นมาเพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวร่วมกันภายใน 15 วันนับแต่แต่ได้รับข้อเสนอ แลถ้าคณะกรรมการได้พิจารณาและมีมติอย่างใดแล้วให้เมืองพัทยาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติของคณะการต่อไป ในกรณีที่หาข้อยุติไม่ได้ให้รัฐมนตรีเป็นผู้ชี้ขาดให้          
          2. ในกรณีที่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ดำเนินกิจการใดที่อยู่นอกเขตเมืองพัทยาอันมีลักษณะที่จะมีผลกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยหรือความปลอดภัยของประชาชนในเขตเมืองพัทยา ให้นายกเมืองพัทยารายต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อแจ้ให้หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องพิจารณาและหาข้อยุติร่วมกันข้อบัญญัติเมืองพัทยาส่วนอำนาจนอกเหนือจากนี้ ดูที่ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2549 
          เมืองพัทยามีอำนาจตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายในกรณีดังต่อไปนี้          
1.การปฏิบัติให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา          
2.เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เมืองพัทยามีอำนาจตราข้อบัญญัติได้          
3. การให้บริการโดยมีค่าตอบแทนตามที่กฎหมายกำหนด          
4. การพาณิชย์          
5. การคลัง การงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ          ข้อบัญญัติเมืองพัทยาจะกำหนดโทษจำคุกหรือโทษปรับหรือทั้งจำและปรับไว้ด้วยก็ได้ แต่จะกำหนดโทษจำคุกเกิน 6 เดือนและโทษปรับเกิน 10,000 บาทไม่ได้



การกำกับดูแล          


1. ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง หรือสั่งให้นายกเมืองพัทยาชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยาได้          
2. บรรดาเรื่องที่เมืองพัทยาต้องเสนอไปยังรัฐมนตรีหรือกระทรวง ทบวง กรม นายกเมืองพัทยาต้องรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบด้วย โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะทำความเห็นเสนอรัฐมนตรี หรือกระทรวง ทบวง กรม แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้          
3. ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า นายกเมืองพัทยาปฏิบัติการในทางที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่เมืองพัทยาหรือกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ และผู้ว่าราชการจังหวัดได้ชี้แจงแนะนำหรือตักเตือนแล้ว แต่นายกเมืองพัทยาไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานให้รัฐมนตรีทราบเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควร          ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นรีบด่วนที่จะรอช้ามิได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของนายกเมืองพัทยาไว้ตามที่เห็นสมควรได้          
4.ในกรณีที่เมืองพัทยาดำเนินการนอกเขตเมืองพัทยาตามมาตรา 65 และกิจการนั้นมีลักษณะที่อาจนำมาซึ่งความเดือนร้อนรำคาญแก่ประชาชนในเขตเมืองพัทยา หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อย หรือความปลอดภัยของประชาชนในเขตเมืองพัทยาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น          ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขหรือกระทำการใดๆ ได้ตามสมควร ในกรณีที่เมืองพัทยา ไม่ปฏิบัติตามและผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้ว่าราชการจังหวัดจะออกคำสั่งระงับการดำเนินกิจการดังกล่าวก็ได้          
5. เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตเมืองพัทยาหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม  ผู้ว่าราชการจังหวัดจะรายงานเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งยุบสภาเมืองพัทยาก็ได้


ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับเมืองพัทยา

             เนื่องจากเมืองพัทยาเป็นระบบการปกครองท้องถิ่น ดังนั้นจึงต้องอยู่ในการกำกับดูแลโดยรัฐบาล ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง และรัฐบาลมอบอำนาจหน้าที่ให้จังหวัดกำกับดูแลแทน ตามรายละเอียดดังนี้
1. การควบคุมโดยจังหวัด หมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยา โดยผู้ว่าฯ มีอำนาจสั่งสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยาได้
2. การควบคุมกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทยควบคุมการบริหารราชการเมืองพัทยา โดยดำเนินการผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนไปถึงรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย ซึ่งคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีมีอำนาจยุบสภาเมืองพัทยาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้
การควบคุมการบริหารราชการเมืองพัทยาดังกล่าว เป็นไปตามลักษณะของการควบคุมภายในการปกครองท้องถิ่นทั่วไป


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น