อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
นับตั้งแต่ปี 2540 อบจ. ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบอำนาจหน้าที่ไปจากเดิมโดยจะมีหน้าที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด
ซึ่งเน้นการประสานงานการพัฒนาระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับต่ำกว่าภายในจังหวัด
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ศ. 2540 มาตรา 45 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของ อบจ. ไว้ดังนี้
1.
ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
2.
จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
3.
สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
4.
ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
5.
แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น
6.
อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหาราาชการส่วนจังหวัด
พ.ศ. 2498 เฉพาะในเขตสภาตำบล
7.
คุ้มครอง ดูแล
และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8.
จัดทำกิจการใดๆ
อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขต อบจ. และ
กิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้
อบจ. จัดทำตามที่กำหนดใน
กฎกระทรวง
9.
จัดทำกิจการอื่นๆ
ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อบจ. เช่น พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542
นอกจากนี้ อบจ.
อาจจัดทำกิจการใดๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
หรือ อบจ. อื่นนอกเขตจังหวัดได้
เมื่อได้รับความยินยอมจากองค์กรนั้นๆ
รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคที่มอบให้ อบจ. ปฏิบัติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
อำนาจหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น
ฝ่ายบริหารจะเป็นผู้ดำเนินการโดยได้รับความเห็นชอบจากฝ่าย นิติบัญญัติ โดยการอนุมัติข้อบัญญัติต่างๆ
เช่น ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นต้น
มีวันหยุดมากมายรออยู่ข้างหน้าและแหล่งข้อมูลนี้สามารถช่วยทำของขวัญให้ญาติของคุณได้ ไซต์นี้เป็นวิธีที่ดีในการทดสอบโชคของคุณ ในแหล่งข้อมูลนี้มีโอกาสที่จะเขียนความคิดเห็นซึ่งแตกต่างจากคู่แข่งทั้งหมด ทางเข้าjoker การถอนทันทีอาจเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญ
ตอบลบ