การกำกับดูและความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย

การกำกับดูและความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
        การกำกับดูแลและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น ดูจะเริ่มมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นก็กำเนิดมาจากรัฐบาล แต่หัวใจสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ความเป็นอิสระของท้องถิ่นในบริหารจัดการ หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีอิสระในการบริหารจัดการแล้ว การแก้ปัญหาก็จะมีขั้นตอนที่มากขึ้น เกิดความไม่คล่องตัว และความไม่ยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหา จุดแข็งของการปกครองท้องถิ่นอาจจะลดน้อยถอยลง แต่เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ฉะนั้น ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการกำกับดูแลจากส่วนกลาง ในขณะเดียวกันก็มีการกำกับดูแลการใช้อำนาจในระดับพื้นที่ด้วย ฉะนั้นการกำกับดูแลจากส่วนกลางจึงถือเป็นเรื่องปกติในระบบการปกครองท้องถิ่น แต่ประเด็นสำคัญคือจะกำกับดูแลอย่างไรไม่ให้เข้มงวดจนกระทั่งไปลดทอนความเป็นอิสระของท้องถิ่น และในขณะเดียวกันจะกำกับดูแลอย่างไรให้การใช้อำนาจนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน[๔]
          องค์กรปกครองส่วนท้องถือว่าเป็นอิสระปราศจากการแทรกจากรัฐบาลกลาง สามารถปกครองตนเองได้ มีอิสระทั้งทางการบริหาร การพัฒนา การเมือง และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่แนวคิดดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดชะตาชีวิตของท้องถิ่นตนเองซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับพุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้กำหนดไว้ในมาตรา ๒๘๑-๑๙๐ ซึ่งจะนำมาเฉพาะมาตราที่เกี่ยวกับการกำกับดูแล ดังต่อไปนี้
          ภายใต้บังคับมาตรา ๑ รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริม ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
        การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่จำเป็นและมี หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน ในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม และจะกระทบถึงสาระสำคัญแห่งหลักการปกครอง ตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้ ในการกำกับดูแลตามวรรคหนึ่ง ให้มีการกำหนดมาตรฐานกลางเพื่อเป็นแนวทาง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลือกไปปฏิบัติได้เอง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความแตกต่าง ในระดับของการพัฒนาและประสิทธิภาพในการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละรูปแบบโดยไม่กระทบต่อความสามารถในการตัดสินใจดำเนินงานตามความต้องการขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งจัดให้มีกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานโดยประชาชนเป็นหลัก
ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีวิธีการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าว ได้ด้วยในกรณีที่การกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนในท้องถิ่นในสาระสำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแจ้งข้อมูลรายละเอียดให้ ประชาชนทราบก่อนกระทำการเป็นเวลาพอสมควร และในกรณีที่เห็นสมควรหรือได้รับการร้องขอ จากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นก่อน การกระทำนั้น หรืออาจจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเพื่อตัดสินใจก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรายงานการดำเนินงานต่อประชาชนในเรื่องการจัดทำ งบประมาณ การใช้จ่าย และผลการดำเนินงานในรอบปี เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และกำกับการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคสาม ให้นำบทบัญญัติ มาตรา ๑๖๘ วรรคหกมาใช้บังคับโดยอนุโลม
        องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติกฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
          (๑) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ในเขตพื้นที่
        (๒) การเข้าไปมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกเขตพื้นที่ เฉพาะในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตน
        (๓) การมีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมใดนอกเขตพื้นที่ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่
        (๔) การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น[๕]
        กล่าวได้ว่า องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีความเป็นอิสระในฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นอิสระในการบริหารจัดการในเรื่องต่าง ๆ ที่อยู่ในขอบเขตการปกครองของตน นอกจากนี้การกำกับดูแลของภาครัฐที่จะต้องควบคุมให้การบริหารเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนตามเจตนารมณ์ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ ทั้งนี้การกำกับดูและนอกจากหน่วยงานภาครัฐระดับสูงแล้วภาคประชาชนก็สามารถที่เข้าไปดูแลและกำกับการดำเนินกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกด้วยแต่ต้องอยู่ในกรอบแห่งการบริหารเท่านั้น ฉะนั้น การกำกับดูแลจึงเป็นเรื่องที่สามารถทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารงานได้อย่างโปร่งใส สามารถที่จะตรวจสอบได้ การบริหารจะต้องเปิดเผยทั้งงบประมาณ โครงการ แผนงาน และกิจกรรมต่างๆ ซึ่งประชาชาชนทั่วไปสามารถของข้อมูลดังกล่าวได้อีกด้วย        
        ภาพรวมผู้บริหารของหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นจะเห็นด้วยต่อการกำกับดูแลโดยหน่วยงานภาครัฐและบทบาทที่ผู้บริหารของหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการมากที่สุด คือ การอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรของหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น นอกเหนือจากการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและการตรวจแนะนำ สำหรับการกำกับดูแลและตรวจสอบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาคประชาชนจะเน้นในลักษณะการมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การใช้สิทธิถอดถอนคณะผู้บริหารท้องถิ่น การใช้สิทธิในการริเริ่มเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น การใช้สิทธิในการขอข้อมูลข่าวสารจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาล ปกครอง การยื่นคำขอให้คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพิจารณาคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ การใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา การมีส่วนร่วมในการจัดซื้อ จัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการใช้สิทธิเลือกตั้งคณะผู้บริหารหรือผู้บริหาร นอกจากนี้แล้วพบว่า โดยภาพรวมประชาชนซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มประชาคมต่าง ๆ จะมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลและตรวจสอบการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ รวมทั้งประชาชนจะมีส่วนร่วมในระดับปานกลางในเรื่อง การตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชน การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น และมีส่วนร่วมน้อยในเรื่อง การตรวจสอบพฤติกรรมของผู้บริหารหรือสมาชิกสภา การตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ และการขอรับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น[๖]
        จะเห็นได้ว่าการกำกับดูแล คือ การควบคุมการดำเนินกิจกรรมที่นำงบประมาณไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรหรือประเทศนั้นๆ และเกิดการผิดพลาดในการใช้จ่ายจึงจะต้องมีการควบคุมงบประมาณโดยสร้างกระบวนการต่างๆเข้ามาเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการพัฒนาได้อย่างเต็มความสามารถขององค์กร นอกจากนี้การกำกับดูแลและตรวจสอบโดยหน่วยงานภาครัฐจะแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ การกำกับดูแลโดยตรง ได้แก่ การกำกับดูแลเหนือตัวบุคคล หรือองค์กรของท้องถิ่น เช่น การสั่งพักราชการ การสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง และการยุบสภาท้องถิ่น เป็นต้น การกำกับดูแลเหนือการกระทำของท้องถิ่น เช่น การให้ความเห็นชอบ อนุญาต และอนุมัติในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการสั่งเพิกถอนหรือระงับการกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนการกำกับดูแลโดยอ้อม ได้แก่ การใช้เงินอุดหนุนทั้งในรูปแบบของเงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจเป็นมาตรการในการกำกับดูแล และการใช้สัญญามาตรฐานที่หน่วยการปกครองท้องถิ่นถูกกำหนดให้ใช้เป็นมาตรการในการกำกับดูแล

กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศนั้นมาจากการรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่ามีวิธีการขั้นตอนต่างๆที่จะปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยหรือเป็นไปเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น  มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ประชาชนได้รับความอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองต่อความต้องการและมีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ[๗]ดังนั้นการกำกับดูแลผู้เขียนบทความจะใช้ รูปแบบขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง ๕ รูปแบบในการวิเคราะห์ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล รัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๒๘๒ กําหนดหลักเกณฑในการกํากับดูแลองคกรปกครองสวน ทองถิ่นไววาใหทําเทาที่จําเปน และจะกระทํานอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไวไมไดเพื่อใหเห็นความชัดเจนของการใชอํานาจหนา ที่กํากับดูแลจึงแบงการปฏิบัติหนาที่ของผูวาราชการจังหวัด นายอําเภอและทองถิ่นจังหวัดดังนดังต่อไปนี้
        การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
         การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ หมวดที่ ๖ มาตราที่ ๗๗-๘๐ ดังนี้  
        ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติราชการ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เป็นไป ตามกฎหมาย กฎ และระเบียบข้อบังคับของทางราชการ เพื่อการนี้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจ สั่งสอบสวนข้อเท็จจริงหรือสั่งให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดชี้แจงแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฏิบัติการใน ทางที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ หรือระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยับยั้งการปฏิบัติการ ดังกล่าว ไว้เป็นการชั่วคราวได้ แล้วให้รายงานรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ออกคำสั่ง ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยสั่งการในเรื่องดังกล่าวภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัด คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
         ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจสั่งเพิกถอนมติของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมิใช่ข้อบัญญัติได้ ในกรณีที่ปรากฏ ว่ามตินั้นฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ หรือระเบียบข้อบังคับของทางราชการ หรือเป็นมติที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด คำสั่งเพิกถอนมติของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ต้องแสดงเหตุผลของการเพิกถอนมตินั้น และต้อง กระทำภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติ ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยังยืนยันมติเดิม ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่มีอยู่ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานการยืนยันมติดังกล่าวและเหตุผลของการเพิกถอนมติ ของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติยืนยันมติเดิม ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยสั่งการในเรื่องดังกล่าวภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัด 
        ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดละเลยไม่ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ หรือปฏิบัติการไม่ชอบ ด้วยอำนาจหน้าที่ หรือประพฤติตนฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ว่าราชการจังหวัด จะดำเนินการสอบสวนก็ได้ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือส่งเรื่องให้สำนักงานคณะ กรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ดำเนินการสอบสวนก็ได้ ถ้าหากผลการสอบสวนปรากฏว่านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีพฤติการณ์เช่นนั้นจริงให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เสนอให้รัฐมนตรีสั่ง ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด 
        เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือประโยชน์ของประเทศ เป็นส่วนรวม ผู้ว่าราชการจังหวัดจะรายงานเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเพื่อยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ได้ เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีอื่น ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้รัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดได้และ ให้แสดงเหตุผลไว้ในคำสั่งด้วย เมื่อมีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือถือว่ามีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นใหม่ภายในสี่สิบห้าวัน[๘] 
          การกำกับดูแล เนื่องจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตามหลักการการกระจายอำนาจโดยรัฐบาลกลาง ที่มุ่งกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีผู้บริหารมาจากเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่หรือโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น และดำเนินการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลผ่านทางจังหวัด การควบคุมกำกับดูแลจึงต้องกระทำเท่าที่จำเป็น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนด คือ
        . ระดับกระทรวง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อวินิจฉัยสั่งการในเรื่องต่างๆ ที่ได้รับรายงานมา เช่น วินิจฉัยเกี่ยวกับการยับยั้งการปฏิบัติการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด การเพิกถอนมติของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดย   ผู้ว่าราชการจังหวัด การสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง การยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
        . ระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฝ่ายบริหาร) และสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับของทางราชการ
        ฉะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเกี่ยวกับการกำกับดูแลตาม พระราชบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว ยังมีการกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทยและจังหวัด ตามระเบียบและหนังสือสั่งการที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เช่น ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๑ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๑ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๓๕ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งสามารถแยกประเภทการกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัด[๙] นอกเหนือจากหลักการดังกล่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้ควบคุมดูและหรือผู้ทำหน้าที่ในปกครององค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยจะต้องสร้างนโยบายในการกำกับดูแลว่า จะมีนโยบายกำกับดูแลอย่างไร จะกำกับดูแลด้านไหน และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนในการกำกับดูแลมากน้อยเพียงใด เช่น นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีด้านรัฐ  สังคมและสิ่งแวดล้อม  นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีด้านผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีด้านองค์การ หรือ   นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีด้านผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น และจะต้องสร้างแนวทางและแผนงานในการกำกับดูแลในเรื่องนั้นๆ
        การกำกับดูแลเทศบาล
        การกำกับดูแลองค์เทศบาลเป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.  ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มรวม ๑๓ ฉบับ พ.ศ.๒๕๕๒ ล่าสุดเป็นฉบับที่ ๑๓ ปรากฏอยู่ในส่วนที่ ๖ ว่าด้วยการควบคุมเทศบาล มาตราที่ ๗๑-๗๕ ดังนี้  
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดนั้นให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่ชี้แจงแนะนำตักเตือนเทศบาล และตรวจสอบกิจการ เรียกรายงานและเอกสารหรือสถิติใด ๆ จากเทศบาลมาตรวจ ตลอดจนเรียกสมาชิกสภาเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลมาชี้แจงหรือสอบสวนก็ได้ ให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลเทศบาลตำบลในอำเภอนั้น ให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่ชี้แจงแนะนำตักเตือนเทศบาลตำบล และตรวจสอบกิจการเรียกรายงานและเอกสารหรือสถิติใด ๆ จากเทศบาลมาตรวจ ตลอดจนเรียกสมาชิกสภาเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลมาชี้แจงหรือสอบสวนก็ได้
        เมื่อนายอำเภอ ในกรณีแห่งเทศบาลตำบลในอำเภอนั้น หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีแห่งเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร เห็นว่า นายกเทศมนตรี หรือรองนายกเทศมนตรีผู้ใดปฏิบัติการของเทศบาลไปในทางที่อาจเป็นการเสียหายแก่เทศบาลหรือเสียหายแก่ราชการ และนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ได้ชี้แจงแนะนำตักเตือนแล้วไม่ปฏิบัติตามนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนหรือสั่งให้ระงับการปฏิบัติของนายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรีนั้นไว้ก่อนได้ แล้วให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรีบรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยสั่งการตามสมควร คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามความในวรรคก่อนไม่กระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต
        ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาล ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน ละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือมีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง หรือแก่เทศบาล หรือแก่ราชการ ให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมด้วยหลักฐาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่งก็ได้ คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด
        เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตเทศบาลหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม ผู้ว่าราชการจังหวัดจะรายงานเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อยุบสภาเทศบาลก็ได้ เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่งหรือกรณีอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภาเทศบาลและให้แสดงเหตุผลไว้ในคำสั่งด้วย เมื่อมีการยุบสภาเทศบาลหรือถือว่ามีการยุบสภาเทศบาลตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลภายในสี่สิบห้าวัน
        ในเมื่อเห็นจำเป็นที่จะให้เทศบาลใดอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทยโดยตรง ก็ให้ทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เทศบาลใดอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทยตามความในวรรคก่อน บรรดาอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดอันเกี่ยวกับเทศบาลนั้น ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย[๑๐]
          จะเห็นได้ว่า การกำกับดูแลเทศบาลนั้น จะมีใกล้ชิดผู้ปกครองโดยตรงในเมื่อเห็นว่าจำเป็นที่จะให้เทศบาลใดอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทยโดยตรงก็ให้ทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เทศบาลใดอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทยตามความในวรรคก่อน บรรดาอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดอันเกี่ยวกับเทศบาลนั้น ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายจะเห็นได้ว่าเครื่องมือในการกำกับดูแลเทศบาลทั้ง ๕ ประการข้างต้น เป็นเครื่องมือที่มีระดับในการควบคุมที่แตกต่างกันโดยเริ่มตั้งแต่การควบคุมดูแลระดับทั่วไปจนกระทั่งถึงการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด[๑๑]
        การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนตำบล
        องค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยยกฐานะจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท[๑๒]การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตราที่ ๙๐-๙๒  ปรากฏอยู่ในส่วนที่ ๕ ว่าด้วยการกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้  
          ให้นายอำเภอมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของ องค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามวรรคหนึ่ง ให้นายอำเภอมีอำนาจเรียกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการบริหาร พนักงานส่วนตำบล และลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลมาชี้แจงหรือสอบสวน ตลอดจนเรียกรายงานและเอกสารใด ๆ จากองค์การบริหารส่วนตำบลมาตรวจสอบได้
        หากปรากฏว่าสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกระทำการ ฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือ ปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจสั่งยุบสภาองค์การบริหาร ส่วนตำบลได้ตามคำเสนอแนะของนายอำเภอ ในกรณีที่การยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามวรรคหนึ่งเป็นผลจาก การกระทำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล ซึ่งเป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง หรือบุคคลดังกล่าวได้ร่วมกระทำการด้วย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าว ออกจากตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล แล้วแต่กรณี โดยให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากตำแหน่งเพราะบกพร่องในทางความประพฤติหรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่โดยมิให้นำบทบัญญัติ มาตรา ๖๔ วรรคสอง มาใช้บังคับกับกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งต้องออกจากตำแหน่งตามวรรคสองและเป็นกรรมการบริหารอยู่ด้วย ในกรณีนี้ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งบุคคลซึ่งเคยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่ถูกยุบ ไปเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนจนกว่ากรรมการบริหารซึ่งได้รับเลือกใหม่จะเข้ารับหน้าที่
        หากปรากฏว่าคณะกรรมการบริหารกระทำการฝ่าฝืน ต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการ ไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจสั่งให้คณะกรรมการบริหารทั้งคณะ หรือกรรมการบริหารบางคนพ้นจากตำแหน่งได้ตามคำเสนอแนะของนายอำเภอ ในกรณีนี้ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนตำบลขึ้นเป็นกรรมการบริหารใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่กรรมการบริหาร พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเป็นผลจาก การกระทำของกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง หรือกรรมการ บริหารที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวเป็นกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งให้บุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่งกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน แล้วแต่กรณี โดยให้ถือว่า เป็นการให้ออกจากตำแหน่งเพราะบกพร่องในทางความประพฤติหรือความสามารถ ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่[๑๓] 
        นายอำเภอของแต่ละท้องที่ถือได้ว่าเป็นผู้ปกครององค์การบริหารส่วนตำบลย่อมมีอำนาจที่ว่าการควบคุมดูแลให้องค์การบริหารส่วนตำบลบริหารงานให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนนอกจากนี้ประชาชนในพื้นย่อมมีสิทธิ์เพื่อขอเข้าดูข้อมูลต่างที่เกี่ยวกับการบริหารของกิจกรรม โครงการ และงบประมาณที่ใช้จ่ายไป ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร[๑๔] ซึ่งก็เท่ากับว่าประชาชนทั่วอยู่ในฐานะกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนตำบลอีกทางหนึ่ง
        กล่าวได้ว่า การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนถิ่น คือ การควบคุม ตรวจสอบการบริหารทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในการกำกับดูแลจะมี ๒ ลักษณะได้แก่ การกำกับดูแลโดยตรง คือ การกำกับดูแลเหนือตัวบุคคล หรือองค์กรของท้องถิ่น เช่น การสั่งพักราชการ การสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง และการยุบสภาท้องถิ่น เป็นต้น ส่วน การกำกับดูแลเหนือการกระทำของท้องถิ่น เช่น การให้ความเห็นชอบ อนุญาต และอนุมัติในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีความเป็นอิสระ หากแต่การกำกับดูแลจากผู้ปกครองที่เหนือขึ้นซึ่งในองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูและ พร้อมทั้งกำหนดนโยบาย แผนงานและขั้นตอนการกำกับดูและว่ามีอำนาจมากน้อยเพียงใด ในส่วนของเทศบาลนั้นจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอเป็นผู้ควบคุมดูแลและองค์การบริหารส่วนตำบลจะมีนายอำเภอเป็นผู้ดูอย่างใกล้ชิดทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนอกจากนี้หลักธรรมาภิบาล ที่ว่าด้วยการมีส่วนร่วมทำให้ประชาชนทั่วไปที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นสามารถที่จะร่วมกันตรวจการดำเนินกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนได้และการกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าวก็เพื่อหวังให้ประชาชนและประเทศอยู่ในความสงบและสันติจากการใช้อำนาจรัฐที่มากเกินพอดี

บทสรุป
        การกำกับดูแลและความเป็นอิสระองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยซึ่งเป็นไปตามบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติอื่น ๆ จะมีความเป็นอิสระในฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นอิสระในการบริหารจัดการในเรื่องต่าง ๆ ที่อยู่ในขอบเขตการปกครองของตนที่ยังคงให้ความสำคัญต่อศักยภาพและขีดความสามารถของท้องถิ่นในดำเนินการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการพัฒนาตนเอง แต่ทั้งนี้จะต้องถูกตรวจสอบ กำกับดูแลและควบคุมการบริหารของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภออย่างใกล้ชิดจะมี ๒ ลักษณะได้แก่ การกำกับดูแลโดยตรง คือ การกำกับดูแลเหนือตัวบุคคล หรือองค์กรของท้องถิ่น เช่น การสั่งพักราชการ การสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง และการยุบสภาท้องถิ่น เป็นต้น ส่วน การกำกับดูแลเหนือการกระทำของท้องถิ่น เช่น การให้ความเห็นชอบ อนุญาต และอนุมัติในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่รัฐรวมทั้งแนวคิดการสร้างความมั่นคงภายในรัฐไม่ให้เกิดการใช้อำนาจมากจนเกินไป แต่ถึงอย่างไรก็ตามการบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ยังคงพึ่งพาจากรัฐบาลกลางซึ่งทำให้ศักยภาพของแต่ละท้องถิ่นไม่เท่าเทียมกันเพราะบางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีขนาดใหญ่โตมาก แต่บางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีพื้นที่มากแต่ประชาชนน้อยทำให้การจัดเก็บภาษีไม่เพียงพอต่อการพัฒนาถึงแม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางก็ตาม




ที่มา  http://oknation.nationtv.tv/blog/drjack/2016/10/05/entry-3

เอกสารอ้างอิง

หนังสือ
โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต.พิมพ์ครั้งที่ ๔.กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, ๒๕๔๖.
กิจจานุเบกษา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐สภาผู้แทนราษฏร, ๒๕๕๐.
_____________.พระราชบัญญัติองคการบริหารสวนจังหวัด. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,๒๕๔๐.
_____________.พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ๒๕๕๒.
_____________. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,๒๕๔๖.
_____________. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.๒๕๔๐” สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,๒๕๕๒.
ประทาน คงฤทธิ์ศึกษากร. การปกครองท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, ๒๕๓๕.
สถาบันพระปกเกล้า.การเสริมสร้างระบบกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล.กรุงเทพมหานคร : ส เจริญ การพิมพ์, ๒๕๕๐.
๒.เว็บไซต์
มรุต วันทนากร และ สาวดรุณี หมั่นสมัคร.การกำกับดูแลเทศบาล. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/การกำกับดูแลเทศบาล [ มกราคม ๒๕๕๙].
สารานุกรมเสรี,องค์การบริหารส่วนตำบล,[แหล่งข้อมูล], แหล่งข้อมูล : http://th. wikipedia.org/wiki/องค์การบริหารส่วนตำบล [ มกราคม ๒๕๕๙].
สุรสิทธิ์ วชิรขจร.“การกํากับดูแลและตรวจสอบการบริหารงานขององคกรปกครองสวนทองถิ่นโดยหนวยงานภาครัฐและประชาชน”. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล :http://journal.nida. ac.th/journal/attachments/a122.pdf[๔ มกราคม ๒๕๕๙].
องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่.การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัด.[ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://www.phraepao.go.th/ppao/index.php?option=com_content&view=article&id =2:2011-11-07-09-26-20&catid=21:2011-11-07-09-26-00&Itemid=6 [๔ มกราคม ๒๕๕๙].
อัษฎางค์ ปาณิกบุตร.ธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.[ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php [มกราคม ๒๕๕๙].
๓.ภาษาอังกฤษ
ChayabutraChoowong. Local Government in Thailand. Bangkok : Local Affairs Press of Local Administration, 1997.      


          [๑]ประทาน คงฤทธิศึกษากร, การปกครองท้องถิ่น, พิมพ์ครั้งที่ 3. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, ๒๕๓๕), หน้า ๑๑.
          [๒]Choowong Chayabutra, Local Government in Thailand, (Bangkok : Local Affairs Press of Local Administration, 1997), P. 14.
          [๓]โกวิทย์ พวงงาม, การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต,พิมพ์ครั้งที่ ๔.(กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, ๒๕๔๖), หน้า ๑.
          [๔] สถาบันพระปกเกล้า, การเสริมสร้างระบบกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล, (กรุงเทพมหานคร : ส เจริญ การพิมพ์, ๒๕๕๐), หน้า คำนำ.
          [๕]ดูเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐ หมวดการปกครองท้องถิ่น มาตรา ๑๘๑-๑๙๐.
          [๖]สุรสิทธิ์ วชิรขจร, “การกํากับดูแลและตรวจสอบการบริหารงานขององคกรปกครองสวนทองถิ่นโดย    หนวยงานภาครัฐและประชาชน”, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล : http://journal.nida.ac.th/journal/attachments /a122.pdf [๔ มกราคม ๒๕๕๙].
          [๗] อัษฎางค์ ปาณิกบุตร, ธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล : http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php [ ธ.ค.๕๕].
          [๘]ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติองคการบริหารสวนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐, (กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,๒๕๔๐), หน้า๒๖-๒๗.
          [๙]องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่, การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนจังหวัด, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล : http://www.phraepao.go.th/ppao/index.php?option=com_content&view=article&id =2:2011-11-07-09-26-20&catid=21:2011-11-07-09-26-00&Itemid=6 [๔ มกราคม ๒๕๕๙].
          [๑๐]ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖, (กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,๒๕๕๒), หน้า๒๗-๒๘.
          [๑๑]มรุต วันทนากร และ สาวดรุณี หมั่นสมัคร, การกำกับดูแลเทศบาล, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล : http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/การกำกับดูแลเทศบาล [ มกราคม ๒๕๕๙].
          [๑๒]สารานุกรมเสรี, องค์การบริหารส่วนตำบล[แหล่งข้อมูล], แหล่งข้อมูล : http://th.wikipedia.org/wiki/องค์การบริหารส่วนตำบล [ มกราคม ๒๕๕๙].
          [๑๓]ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗(กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,๒๕๔๖), หน้า๓๓-๓๔.
          [๑๔]ดูเพิ่มเติมใน“พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.๒๕๔๐” สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ๒๕๕๒.

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น