Thai Local Government
การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566
วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ
สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ
ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | |
๑. องค์การบริหารส่วนจังหวัด | ๗๖ แห่ง |
๒. เทศบาล | ๒,๔๗๒ แห่ง |
เทศบาลนคร | ๓๐ แห่ง |
เทศบาลเมือง | ๑๙๕ แห่ง |
เทศบาลตำบล | ๒,๒๔๗ แห่ง |
๓. องค์การบริหารส่วนตำบล | ๕,๓๐๐ แห่ง |
๔. องค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) | ๒ แห่ง |
รวมทั้งสิ้น | ๗,๘๕๐ แห่ง |
รวบรวมโดย : กลุ่มงานกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น ๒
กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564
วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564
วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564
วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558
อบต.
แก้ไข ข้อมูลตามพรบ.เทศบาล ปี2562
แต่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 นี้ ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญจาก พรบ. ฉบับเดิมหลายอย่าง โดยเฉพาะสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่กำหนดให้ ...
"...จำนวนสมาชิก อบต. เหลือเพียงหมู่บ้านละ 1 คน โดยให้เขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง หากหมู่บ้านใดมีราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรไม่ถึง 25 คน ให้รวมหมู่บ้านนั้นกับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกัน หาก อบต. ใด มีเพียง 1 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิก 6 คน หากมี 2 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 3 คน หากมี 3 หมู่บ้านให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 3 คน หากมี 4 หมู่บ้านให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 1 คน และ 2 หมู่บ้านที่มีประชากรมากเพิ่มอีกหมู่บ้านละ 1 คน และหากมี 5 หมู่บ้านให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 1 คน และอีก 1 หมู่บ้านที่มีประชากรมากที่สุดเพิ่มอีก 1 คน
นอกจากนี้ ยังได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามและการกระทำการอันต้องห้าม ของสมาชิก อบต. และนายก อบต.
· นายก อบต. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง
· นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งแต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระไม่ได้
· ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดำรงตำแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือเป็นหนึ่ง วาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปี นับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
· ผู้บริหาร อบต. ต้องไม่ดำรงตำแหน่งอื่นในหน่วยงานของรัฐ และเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาหรือ กิจการที่กระทำกับหรือให้แก่ อบต. นั้น หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาหรือกิจการที่กระทำหรือจะกระทำกับหรือให้แก่ อปท. อื่น และคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอื่นตามกฎหมายเลือกตั้งฯ
อำนาจหน้าที่และประเภทรายจ่ายของ อบต.
· กำหนดให้ อบต. มีอำนาจหน้าที่รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจรฯ
· กำหนดให้ อบต. มีอำนาจหน้าที่จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและ พัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
· กำหนดให้ อบต. จะนำเงินไปใช้จ่ายเพื่อการฝึกอบรมหรือดูงานในต่างประเทศของผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นจะกระทำมิได้ ยกเว้นที่มีข้อตกลงหรือความร่วมมือฯ
"...จำนวนสมาชิก อบต. เหลือเพียงหมู่บ้านละ 1 คน โดยให้เขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง หากหมู่บ้านใดมีราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรไม่ถึง 25 คน ให้รวมหมู่บ้านนั้นกับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกัน หาก อบต. ใด มีเพียง 1 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิก 6 คน หากมี 2 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 3 คน หากมี 3 หมู่บ้านให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 3 คน หากมี 4 หมู่บ้านให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 1 คน และ 2 หมู่บ้านที่มีประชากรมากเพิ่มอีกหมู่บ้านละ 1 คน และหากมี 5 หมู่บ้านให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 1 คน และอีก 1 หมู่บ้านที่มีประชากรมากที่สุดเพิ่มอีก 1 คน
นอกจากนี้ ยังได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามและการกระทำการอันต้องห้าม ของสมาชิก อบต. และนายก อบต.
· นายก อบต. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง
· นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งแต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระไม่ได้
· ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดำรงตำแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือเป็นหนึ่ง วาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปี นับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
· ผู้บริหาร อบต. ต้องไม่ดำรงตำแหน่งอื่นในหน่วยงานของรัฐ และเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาหรือ กิจการที่กระทำกับหรือให้แก่ อบต. นั้น หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาหรือกิจการที่กระทำหรือจะกระทำกับหรือให้แก่ อปท. อื่น และคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอื่นตามกฎหมายเลือกตั้งฯ
อำนาจหน้าที่และประเภทรายจ่ายของ อบต.
· กำหนดให้ อบต. มีอำนาจหน้าที่รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจรฯ
· กำหนดให้ อบต. มีอำนาจหน้าที่จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและ พัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
· กำหนดให้ อบต. จะนำเงินไปใช้จ่ายเพื่อการฝึกอบรมหรือดูงานในต่างประเทศของผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นจะกระทำมิได้ ยกเว้นที่มีข้อตกลงหรือความร่วมมือฯ
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)